วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4 การสื่อสารข้้อมูลบนระบบเครือข่่ายคอมพิวเตอร์์


บทที่ 4 การสื่อสารข้้อมูลบนระบบเครือข่่ายคอมพิวเตอร์์
1.            สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ
ประเภท
ข้อดี
ข้อเสีย
- สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพ
สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
- สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)
มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ
ระยะทางจำกัด
- สายโคแอคเชียล (Coaxial)
ป้องกันการสะท้อนกลับ
ส่งสัญญาณได้ไกลถึง  2  กม. 
ลดการรบกวนจากภายนอกได้ดี
ราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
- ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
1. ราคาแพง (High Cost)
2. การติดตั้งต่อสายยุ่งยาก (Difficulty Taps)
3. มีความไม่เชื่อถือจากผู้ใข้เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ (Fear of new technology)

2.            การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่่างไร
ตอบ   สามารถนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ ของหน่วยงาน องค์กร และบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการจะเผยแพร่ข่าวสารไปยังบุคคลอื่น ๆและสามารถนำงานที่อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ เหมือนกับว่าเป็นแฟ้มข้อมูลในเครื่องของตนเอง โดยสามารถทำการคัดลอก ลบ หรือถ่ายโอนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง (download) หรือนำแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตนเองไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (upload) เราอาจเรียกงานบริการนี้ว่า การถ่ายโอนข้อมูล (file transfer)


3.              หากนำระบบเครือ่ขายมาใช้ในองคก์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology)แบบใดเพราะอะไร
ตอบ   แบบ Wide Area Network เพราะองค์กรผมมีเครือข่ายองค์กรที่ต่างประเทศด้วย ต้องมีการส่งข้อมูล
และติดต่อสื่อสารกัน เพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป


4.              อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
ตอบ  การเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มีหนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสารระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group 

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

การบ้านบทที่ 3


1.              ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
     เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
        1.1 การลงรหัส
        1.2 การตรวจสอบ
        1.3 การจำแนก
        1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
        2.1 การคำนวณ
        2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
        2.3 การสรุป
        2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
ตอบ 
     บิต(Bit)
     หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
     เลขฐาน 2 คือ 0,1
     ไบต์(Byte)
     การนำบิตมารวมกัน
     เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร
     ฟิลด์(Field)
     การนำไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน
     เรียกว่า เขตข้อมูล
     เรคอร์ด (Record)
     การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน
     เรียกว่า ระเบียน
     ไฟล์ (File)
     การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน
     เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
     ฐานข้อมูล (Database)
     การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน
     เรียกว่า ฐานข้อมูล

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ แฟ้มข้อมูลรายชื่อพนักงาน แฟ้มข้อมูลประวัติการทำงาน แฟ้มข้อมูลการอบรม ระบบฐานข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรคือ บริษัทสามารถเช็คข้อมูลได้ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการทราบว่าพนักงานคนนี้เป็นพนักงานของบริษัทหรือไม่


4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์
ตอบ  การประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์เป็นรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำการประมวลผลครั้งเดียว จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ เป็นการประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีแสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

การบ้านบทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ นายธันวา ไชยรัมย์ 53373257041 กลุ่ม 5337325701

 1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
- Hardware เป็น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สาคัญ คือ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล และ อุปกรณ์แสดงผล 
§  ตัวอย่างเช่น เมาส์ แป้นพิมพ์  แทร็กบอล จอภาพ เป็นต้น
-Software เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง
§  ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
                เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ เป็นต้น

-Peopleware  หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ
§  ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการระบบ (System Manager)คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน ส่วนนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทาการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน เป็นต้น

-Data   คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
§  ตัวอย่างเช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

-Information คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนาเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย
§  ตัวย่างเช่น การสรุปจำนวนนักเรียนทุกชั้นเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในรูปแบบของกราฟเส้น เป็นต้น
2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware ,Software และ Peopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ร้านขายของสะดวกซื้อ ซึ่งจะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มาใช้ ได้แก่
-                   Hardware เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นต้น เพราะจะได้นำมาใช้ในการอ่านราคาสินค้าในร้าน
-                   Software ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เพราะต้องมีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลสินค้าในร้าน และการคำนวณราคาสินค้า
-                   Peopleware เช่น โปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ เป็นต้น เพราะในการใช้งานทั้ง Hardware และ Software ต้องมีโปรแกรมเมอร์ในการเขียนคำสั่ง มีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์






3.ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
ผลการเรียนนักเรียนนักเรียนชั้น ป.3
โรงเรียนระยองศึกษา
เลขที่
ชื่อ-สกุล
งานเดี่ยว
20
งานกลุ่ม
10
สอบกลางภาค
30
สอบปลายภาค
30
จิตพิสัย
10
คะแนนรวม
100
เกรด
1
ด.ช.กอบ อาจหาญ
16
8
29
28
9
90
B+
2
ด.ช.เก่ง คงกาง
19
7
20
17
8
71
C
3
ด.ญ.กุ้ง ใจดี
15
10
20
26
9
80
B
4
ด.ช.เอก แก้วกล้า
19
9
25
28
10
91
A
5
ด.ญ.กิ่งแก้ว มิ่งขวัญ
20
8
27
24
8
87
B+
6
ด.ญ.ดอกรัก ไมตรี
17
8
26
28
9
88
B+
7
ด.ญ.มะปราง สุขดี
16
7
23
29
9
84
B
8
ด.ช.ก้อง อุ้มแก้ว
19
10
22
26
9
86
B+
9
ด.ญ.ขวัญ โอบอ้อม
15
9
26
25
10
85
B
10
ด.ช.เกียรติชัย มากชัย
17
8
22
25
8
80
B
MAX
91
A
MIN
71
C
AVERAGE
84.2